welcome to blogger Miss Kanyarat nonghnok

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3




Recent Posts

Learning Experiences Management in Early Childhood Education




25 January 2016
Time 13:10 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ

     กิจกรรมในห้องเรียน การนำเสนอทฤษฎี สรุปองค์ความรู้ตามที่ได้รับมอบหมาย <<<


กลุ่มที่ 1 การสอนแบบมอนเตสเซอรี่





การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเน้นอุปกรณ์การสอนหรือสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก ให้เด็กได้
เรียนรู้จาการสัมผัสด้วยมือ และเล่นอุปกรณ์ที่ครูเตรียมให้ตามความสนใจของตนเอง  โดยหลักการสอนตามแนวมอนเตสเซอรี่นั้น ครูต้องเป็นผู้จูงใจให้เด้กเกิดการค้นพบด้วยตนเองจากการสังเกตการเรียนรู้แต่ละเรื่องต้องสอดคล้องกับผู้เรียน เพิ่มเติม


กลุ่มที่ 2 การเรียนการสอนแบบวอดอร์




     เป็นการสอนที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึกหากเด็ก
อยู่ในบรรยากาศที่รู้สึกสบายใจ   ผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำ
กิจกรรมที่เขากระทำอยู่ หัวใจของการของสอนแบบวอลดอร์ฟคือ การสร้างสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่พึ่งพาจากเทคโนโลยีจากภายนอก

เพิ่มเติม



กลุ่มที่ 3 การสอนแบบโครงการ (Project  Approach)




 
      การสอนแบบโครงการเป็นการสอนที่ให้เด็กได้สืบค้นข้อมูลอย่างลึกในเรื่องที่เด็กสนใจ  

เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองประกอบด้วยกระบวนการ 5 ข้อดังนี้

   1.การอภิปรายกลุ่ม จะช่วยให้เด้กแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองสนใจกับเพื่อน

   2.การศึกษานอกสถานที่  ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน  เพื่อเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอ      บริเวณโรงเรียน

   3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม  เป็นการทบทวนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมในเรื่องที่          ตนเองสนใจกับเพื่อนในชั้นเรียน

   4.การสืบค้นงานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่อง            ที่สนใจ โดยการสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือบุคคลในครอบครัว

   5.การจัดแสดง สามารถทำได้หลายรูปแบบ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดที่ได้จากการสืบค้นในชั้น     เรียนการสอนแบบนี้ จะทำให้ครูและเด็กมีการแลกเปลี่ยนปรสบการณ์กัน ทำให้เด็กได้ฝึกการ       ค้นคว้าให้เกิดประสบการณ์ใหม่เพราะการค้นคว้าถือเป้นหัวใจหลักการสอนแบบโครงการ เพิ่มเติม



กลุ่มที่ 4 พหุปัญญา





       ทฤษฎีพหุปัญญา หมายถึง เชาว์ปัญญา คือความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ ซึ่งเชาว์ปัญญาของบุคคลมีหลากหลายถึง 8 ประการซึ่งความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลจะแตกต่างและความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน


กลุ่มที่ 5  STEM






       STEM เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 

วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานและ

การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยเน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัยกาในชีวิตจริง เพิ่มเติม




กลุ่มที่ 6  การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)






      
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบสัมผัสโดยตรงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงซึ่งมีส่วนส่งเสริมให้สมองสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มเติม




    สิ่งที่จะนำไปพัฒนาตนเอง 

                   
         นำรูปแบบการสอนวิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมในชั้นเรียนกิจกรรมในชั้นเรียนในการสอนครั้งต่อไป


    การประเมิน  (Evaluation)

    ประเมินตนเอง  (Self) 

                 
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองานเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  ตั้งใจจดบันทึกจับใจความสาระสำคัญ
                    

    ประเมินเพื่อน (Friends)

                 
          เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจนำเสนองานเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  ตั้งใจจดบันทึกจับใจความสาระสำคัญ

    ประเมินอาจารย์ (Teachers)

                 
           อาจารย์ให้ข้อเสนอเเนะ เทคนิคต่างๆ และให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการจัดการเรียนรู้ทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย



    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น